ห้องนี้สำหรับคนรักสุนัข
Custom Search
แนวข้อสอบนักวิชาการปฏิรูปที่ดินปฏิบัติการ
เขียนโดย Maltese
1. เกษตรกรตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 หมายความว่าอย่างไร
ก. ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ไม่ใช่เป็นอาชีพหลัก
ข. ผู้เป็นบุตรของเกษตรกรที่ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
ค. บุคคลผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองที่ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ เกษตรกร หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
2. เกษตรกรรม ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 หมายความว่าอย่างไร
ก. การทำนา ทำไร่ ค. การเลี้ยงสัตว์
ข. การทำสวน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ เกษตรกรรม หมายความว่า การทำ นา ทำ ไร่ ทำ สวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์นํ้า และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. ที่ดิน ส.ป.ก. มีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ค. 5 ประเภท
ข. 4 ประเภท ง. 3 ประเภท
ตอบ ก. 2 ประเภท ได้แก่ ที่ดินของรัฐและ ที่ดินเอกชน
4. ข้อใดคือการดำเนินงานการปฏิรูปที่ดิน
ก. กระบวนการจัดที่ดิน
ข. กระบวนการควบคุมสิทธิ
ค. กระบวนการนำที่ดินมาปฏิรูปที่ดิน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ การดำเนินงานการปฏิรูปที่ดินฯ แบ่งเป็น 4 กระบวนการ ได้แก่
1. กระบวนการนำที่ดินมาปฏิรูปที่ดิน
2. กระบวนการจัดที่ดิน
3. กระบวนการควบคุมสิทธิ
4. กระบวนการพัฒนา
5. ที่ดินที่ ส.ป.ก. นำมาจัดให้เกษตรกรทำประโยชน์ จัดให้ได้ครอบครัวละเท่าใด
ก. 50 ไร่ ค. 60 ไร่
ข. ไม่เกิน 50 ไร่ ง. ไม่เกิน 60 ไร่
ตอบ ข. ไม่เกิน 50 ไร่
6. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรียกโดยย่อว่าอะไร
ก. ส.ก.ก. ค. ส.ป.ก.
ข. ส.ป.ด. ง. ส.ด.ก.
ตอบ ค. ส.ป.ก. มาตรา 6 ให้จัดตั้งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกโดยย่อว่า ส.ป.ก.
7. พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีกี่ฉบับ
ก. ฉบับเดียว ค. 3 ฉบับ
ข. 2 ฉบับ ง. 4 ฉบับ
ตอบ ค. 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
ฉบับที่ 2 พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2519
ฉบับที่ 3 พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2532
8. ส.ป.ก. ย่อมาจากอะไร
ก. สำนักงานที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ข. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
ค. สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ง. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ตอบ ง. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
9. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2532
ก. การนำที่ดินของรัฐมาใช้จัดที่ดินมีปัญหาว่ายังไม่มีแนวทางที่แน่ชัดระหว่างงานที่รับผิดชอบ
ข. องค์ประกอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดยังไม่เหมาะสม
ค. แนวทางในการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินยังไม่เหมาะสม
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยได้จัดให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
มาระยะหนึ่งแล้ว แต่การดำ เนินการยังมีอุปสรรคทำ ให้การงานไม่อาจดำ เนินไปโดยเหมาะสมตามควร สมควรขยายขอบเขตการจัดที่ดินในการปฏิรูปที่ดินให้กว้างขวางขึ้นให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรได้ และอาจจัดที่ดินให้แก่ผู้ประกอบกิจการสนับสนุนและต่อเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินได้ด้วย เพื่อให้งานดำ เนินไปครบวงจรของภาคเกษตรกรรม นอกจากนั้น ในการจัดหาที่ดินมาดำ เนินการปฏิรูปที่ดินได้มีปัญหาว่าจะจัดซื้อที่ดินจาก ผู้ที่สมัครใจขายได้หมดทั้งแปลงหรือไม่ และการนำ ที่ดินของรัฐมาใช้จัดที่ดินมีปัญหาว่า ยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัดระหว่างงานที่รับผิดชอบเกิดปัญหาว่า ส.ป.ก. สมควรจะนำ ที่ดินส่วนใดมาใช้จัดได้เมื่อใดและเพียงใดทั้งยังมีข้อจำ กัดที่ ส.ป.ก. จะเข้าดำ เนินการในที่ดินที่มีผู้ประสงค์บริจาค เพราะที่ดินนั้นต้องกลายเป็นที่ราชพัสดุและที่ดินอาจมีขนาดไม่กว้างมาก ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะกำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินเล็ก ๆ โดยพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ ส่วนในขั้นนำ ที่ดินมาจัดให้แก่ประชาชนนั้น กฎหมายปัจจุบันได้แยกข้อแตกต่างระหว่างที่ดินที่เป็นของรัฐมาแต่เดิมกับที่ดินที่ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน ทำให้ไม่อาจจัดสิทธิในที่ดินให้แก่ประชาชนให้สอดคล้องกัน สมควรแก้ไขโดยคำนึงถึงเป้าหมายและความต้องการของผู้ขอรับการจัดที่ดินเป็นสำคัญเพื่อให้สิทธิในที่ดินมีส่วนเกื้อหนุนสภาพความเป็นอยู่ในภาคเกษตรกรรมตามความเป็นจริง อนึ่ง องค์ประกอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด และแนวทางในการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปัจจุบันเสียใหม่ จึงจำ เป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
10. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ก. เงินที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน
ข. เงินที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
ค. เงิน ดอกผลหรือผลประโยชน์ใดๆที่ ส.ป.ก.ได้รับเกี่ยวกับการดำ เนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ง. เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากเอกชนหรือจากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศ หรือต่างประเทศ
ตอบ ง. เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากเอกชนหรือจากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศ หรือต่างประเทศ
มาตรา 10 กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกอบด้วย
(1) เงินที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน
(2) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากรัฐบาลหรือจากแหล่งต่าง ๆ ภายในประเทศ หรือต่างประเทศ หรือ
องค์การระหว่างประเทศหรือบุคคลอื่น
(3) เงินที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
(4) เงิน ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก.ได้รับเกี่ยวกับการดำ เนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
11. ข้อใดคือนโยบายการปฏิรูปที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ก. จัดและพัฒนาที่ดินให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
ข. สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาตนเองทางเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน
ค. สร้างโอกาส พัฒนาเศรษฐกิจในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างยั่งยืน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ถูกทุกข้อ
12. ข้อใดคือเว็ปไซด์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ตอบ ข. [url]www.alro.go.th[/url]
13. ใครคือผู้อำนวยการสำนักจัดการปฏิรูปที่ดิน
ก. นายสัมพันธ์ พลภักดิ์ ค. นายสุธี บุญคง
ข. นางพรทิพย์ อุ้ยตา ง. นายศักดิ์ชาย แก้วศรีนวล
ตอบ ก. นายสัมพันธ์ พลภักดิ์ นายสุธี บุญคง เป็น ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
นางพรทิพย์ อุ้ยตา เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุน
นายศักดิ์ชาย แก้วศรีนวล เป็น ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
14. เลขาธิการ ส.ป.ก. คือใคร
ก. นายสุรศักดิ์ แสงอร่าม ค. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ
ข. ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ง. นายสถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ
ตอบ ค. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ที่เหลือเป็นรองเลขาธิการ ส.ป.ก.
15. ที่ดินของรัฐ ได้แก่ที่ดินประเภท ใดบ้าง
ก. ที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม ค. ที่จำแนกฯ ออกจากป่าไม้ถาวร
ข. ที่สาธารณประโยชน์ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ ที่ของรัฐที่นำมาปฏิรูปที่ดิน ได้แก่ - ที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรม
- ที่จำแนกฯ ออกจากป่าไม้ถาวร
- ที่สาธารณประโยชน์
- ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
16. ข้อใด ไม่ใช่ ประเภทของที่ดินที่นำมาปฏิรูปที่ดิน
ก. ที่ของรัฐ ค. ที่ของเอกชน
ข. ที่ของรัฐวิสาหกิจ ง. ถูกทั้ง ก และ ค
ตอบ ง. ถูกทั้ง ก และ ค ที่ดินที่นำมาปฏิรูปที่ดิน มี 2 ประเภท คือ ที่ของรัฐ และที่ของเอกชน ซึ่งรวมที่ดินบริจาคไว้ด้วย
17. ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร
ก. หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของรัฐ
ก. หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของรัฐ
ข. หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของเอกชน
ค. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ง. ถูกทั้ง ก และ ข
ตอบ ก. หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของรัฐ
ส.ป.ก.4-01 คือ หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของ รัฐไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
18. ปัจจุบันบิดาได้รับจัดสรรที่สปก.จำนวน 50 ไร่ กรณีถ้าบิดาเสียชีวิตที่ดินสปก.จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร
ก. คู่สมรส ค. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
ข. บุตร ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ ส.ป.ก.อนุญาตให้ทายาท(ของผู้เสียชีวิต)รับมรดกสิทธิที่ดิน ดังนี้ 1.คู่สมรส หรือ บุตร 2.บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ที่ดินที่บิดาคุณได้รับนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ดังนั้น ทายาทที่มีสิทธิจึงเป็นไปตามที่ส.ป.ก.กำหนด ไม่ใช่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่ง-พาณิชย์
19. หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกโดยกรมที่ดินคืออะไร
ก. ส.ท.ก. ค. น.ส.3
ข. ภบท.5 ง. ส.ป.ก. 4-01
ตอบ ค. น.ส.3
- ส.ท.ก. คือหนังสืออนุญาตให้ทำกินในที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว ออกโดยกรมป่าไม้
- ใบ ภบท.5 คือ หลักฐานการเสียภาษี บอกแต่เพียงชื่อที่ปรากฎอยู่ว่าเป็นผู้ที่สียภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น ไม่ได้แสดงหลักฐานการครอบครอง
- ส.ป.ก.4-01 คือ หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินในที่ของ รัฐไม่ใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
20. ขนาดของที่ดินที่จัดให้เกษตรกรใช้ประกอบเกษตรกรรมประเภทเลี้ยงสัตว์ใหญ่มีขนาดเท่าใด
ก. 50 ไร่ ค. ไม่เกิน 100 ไร่
ข. ไม่เกิน 50 ไร่ ง. 100 ไร่
ตอบ ค. ไม่เกิน 100 ไร่ ขนาดของที่ดินที่จัดให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด มีดังนี้
1. ไม่เกิน 50 ไร่ สำหรับเกษตรกรแต่ละครอบครัว ใช้ประกอบเกษตรกรรม
2. ไม่เกิน 100 ไร่ สำหรับเกษตรกรแต่ละครอบครัว ใช้ประกอบเกษตรกรรมประเภทเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศ
3. จำนวนตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร สำหรับสถาบันเกษตรกร
4. ถ้าเป็นที่ดินของรัฐและเกษตรกรครอบครองอยู่แล้วก่อนเวลาที่คณะกรรมการกำหนด จัดให้ตามที่ครอบครองแต่ไม่เกิน 100 ไร่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บล็อกดีๆที่อ่านเจอมา
-
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ - ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น 1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได ้เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดั...7 ปีที่ผ่านมา
-
ปู่วัย 92 ปีแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง - ปู่วัย 92 จากไนจีเรีย เคยแต่งงานมาแล้ว 107 ครั้ง ยังเหลือภรรยาอีก 97 คน ที่ยังอยู่กินอยู่ด้วยกัน เผย ยังหวังหาภรรยาเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ ให้มากที่สุดเท่าที...8 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น